วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

งานเอกสารและสิ่งพิมพ์รัฐบาล

สิ่งพิมพ์รัฐบาล (Government Publications)สิ่งพิมพ์รัฐบาล หมายถึง หนังสือ วารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ ตลอดจนโสตทัศนวัสดุต่างๆ และฐานข้อมูล ที่หน่วยงานราชการได้จัดทำขึ้น หรือเป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์เพื่อจำหน่าย หรือแจกจ่ายเป็นบริการ ให้เปล่าแก่หน่วยงานอื่นๆ ตลอดจนประชาชนที่สนใจ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ผลงานของทางราชการ สิ่งพิมพ์รัฐบาลที่พบเห็นอยู่เสมอๆ ได้แก่
1. รายงานประจำปี รายงานการค้นคว้าวิจัย รายงานการบริหารงาน
2. วารสารและรายงานการประชุม รายงานของคณะกรรมการต่างๆ
3. รายงานสถิติ รายงานการดูแล
4. ร่างกฎหมายและมติต่างๆ กฎหมาย คู่มือ ตำรา
5. งบประมาณ ประมวลรายได้
6. ทำเนียบนาม บรรณานุกรม ดรรชนี สาระสังเขป

ประเภทของสิ่งพิมพ์รัฐบาลแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. บันทึกผลการบริหารงาน ของรัฐบาล หรือหน่วยงานราชการแต่ละแห่ง เช่น รายงานการประชุม รายงานประจำปี
2. รายงานการค้นคว้าวิจัย (Research Report) ของหน่วยงานรัฐบาล หรือได้รับทุนในการค้นคว้าวิจัยจากรัฐบาล
3. ความรู้ทั่วไป ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน
วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของสิ่งพิมพ์รัฐบาล
1. เพื่อเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาลให้ ประชาชนได้ทราบ
2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ ความรู้ของหน่วยงานรัฐบาล เพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชน
3. เพื่อแถลงนโยบาย การดำเนินงานให้เป็นที่รับรู้ และเข้าใจอย่างถูกต้อง
4. เป็นสื่อกลางประสานความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐบาล
5. เพื่อให้ประชาชนได้ทราบประกาศกฎหมายใหม่ๆ ข้อบังคับ และระเบียบต่างๆ ของทางราชการ
ประโยชน์และวิธีใช้
1. เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Sources) ที่ให้หลักฐาน ข้อมูล สถิติและเรื่องราวทางราชการที่เชื่อถือได้
2. เป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการต่างๆ และข้อเท็จจริงที่ทันสมัย
3. การใช้สิ่งพิมพ์รัฐบาล ควรพิจารณาประเภท และลักษณะของรูปแบบของสิ่งพิมพ์ให้ตรงกับความประสงค์
4. พิจารณาการเรียบเรียง วิธีใช้ และใช้สารบัญ ดรรชนี ประกอบการค้นหา เรื่องราว
การจัดหมวดหมู่และลงรายการงาน มีการจัดกลุ่มหนังสือโดยพิจารณาเนื้อหาสาระของหนังสือเป็นสำคัญ มีการกำหนดสัญลักษณ์ที่ถูกกำหนดขึ้นนี้จะเป็นเครื่องหมายระบุตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
1. รับหนังสือ Work Sheet จากงานทรัพยากรสารสนเทศ
2. ลงทะเบียนหนังสือพร้อมติด Barcode (ปรากฎเลขทะเบียน)
3. จัดหมวดหมู่และลงรายการในแบบบันทึกรายการข้อมูล (Work Sheet) โดยดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
3.1 กด F2 เพื่อตรวจสอบข้อมูลรายการบรรณานุกรม
3.2 ตรวจสอบแล้วว่ามีในห้องสมุดให้ต่อ Copy3.3 ตรวจสอบแล้วว่าไม่มีข้อมูล บรรณารักษ์ให้เลขหมู่และหัวเรื่อง
4. เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลลงฐานข้อมูล (HORIZON)
5. พิมพ์สติกเกอร์แสดงเลขหมู่ เลขผู้แต่ง ปีที่พิมพ์และฉบับ (ถ้ามี) และติดลงที่สันหนังสือห่างจากขอบล่าง 2 นิ้ว
6. ติดบัตรกำหนดส่งที่ปกหลังด้านใน
7. จัดเตรียมหนังสือใหม่เพื่อออกบริการ